ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน ทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน และใน งานอาชีพต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนผลผลิตต่าง ๆ ใช้เพื่อ อำนวยความสะดวกในชีวิตและในการทำงาน ล้วนเป็นผลของ ความรู้ วิทยาศาสตร์ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ ความรู้ วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างมาก ในทางกลับกัน เทคโนโลยีก็ส่วนสำคัญมากที่จะให้มีการศึกษาค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง วิทยาศาสตร์ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิด เป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการ ค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถ ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถ ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (knowledge based society) ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา ให้รู้วิทยาศาสตร์ (scientific literacy for all) เพื่อที่จะมีความรู้ ความเข้าใจ โลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ สร้างสรรค์ขึ้น และนำความรู้ไปใช้อย่าง มีเหตุผล สร้างสรรค์ มีคุณธรรม ความรู้วิทยาศาสตร์ไม่เพียงแต่นำมาใช้ในการ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การใช้ประโยชน์ การดูแลรักษา ตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติิอย่างสมดุลและยั่งยืน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ ความรู้วิทยาศาสตร์ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจ สามารถแข่งขันกับนานา ประเทศ และดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข
ถ้าไม่มีวิทยาศาสตร์ ??
1. อาจจะไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความสะดวกสะบายมากมายขนาดนี้
2. มนุษย์อาจไม่ทราบว่าเลยว่าโลกมีทรงกลม
3. มนุษย์อาจจะอาศัยอยู่ในป่าเขาดังโบราณ
4. อาจจะเชื่อว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติที่วิทยาศาสตร์พิสูจณ์ได้ ว่าเป็นฝีมือของสิ่งเหนือธรรมชาติ
คิดอย่างวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร ??
หลักๆ ก็คือ ความคิดเชิง 'เหตุและผล' การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ การหาข้อสรุป และการคิดเชิงทดลองและประยุกต์ เป็นต้น
ซึ่งการคิดทำสิ่งใดหรือกิจการงานใดก็ตาม หากนำวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ ไม่เป็นการคาดเดา แต่เป็นความคิดเชิงระบบ ทำให้ลดการเดาสุ่มไป
หลักการคิดอย่างวิทยาศาสตร์มีส่วนให้ชีวิตง่ายขึ้นอย่างไร ??
หลักของวิทยาศาสตร์ คือ หลักการแก้ปัญหา ตั้งต้นเมื่อเจอปัญหาอะไร ต้องนิยามปัญหาให้ชัด ถ้าปัญหายังกว้างอยู่ ต้องแยกเป็นประเด็นๆ ไป จนกระทั่งปัญหาชัดเจนพอที่จะบอกได้ว่า ควรจะเริ่มค้นคว้าอะไร ควรจะทดลองอะไรก่อนหลัง จึงจะตอบปัญหานั้นได้ ถ้าฝึกบ่อยๆ จะทำให้เคยชิน พอเจออะไรที่ยากๆ ก็ค่อยๆ ถอดทีละส่วน แล้วค่อยดูไปทีละส่วน
มันอยู่ในชีวิตประจำวันจนแยกไม่ออก อย่างเรื่องที่ตัวเองประสบบ้าง คนอื่นประสบบ้าง เช่น เรามีปัญหาเรื่องน้ำหนักจะทำอย่างไร เราก็ต้องแยกประเด็นว่า น้ำหนักเราขึ้นหรือลดเพราะอะไร แยกดูทีละประเด็น แล้วตัดประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป หากสุดท้ายเหลือประเด็นว่า เรารับประทานอาหารบางชนิดมากเกินไป ก็คิดว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน เราสามารถลดส่วนที่ไม่จำเป็นหรือทดแทนด้วยสิ่งอื่นตามหลักโภชนาการโดยที่เราไม่เป็นทุกข์ ไม่ถึงกับต้องรับประทานยาหรือหาหมอ หรืออย่างเวลาเราเลือกซื้อของ ถ้าเราไม่ใช้วิธีคิดทางวิทยาศาสตร์ เราจะถูกหลอกได้มาก ของบางชิ้นเนื้อในเหมือนกัน แต่ถูกนำไปตกแต่งสีสัน และใส่คำโฆษณาเพื่อเพิ่มมูลค่าสูงเกินไป ก็มีเยอะ ถ้าเราฝึกตัวเองด้วยหลักคิดทางวิทยาศาสตร์ ก็ทำให้เข้าใจเรื่องคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งต่างๆ ก็จะเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดไม่ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาชวนเชื่อ
มีกรณีตัวอย่างบ้างไหม ??
วิทยาศาสตร์ที่เด็กๆ หรือที่พวกเราได้เคยผ่านการเรียนมาก่อนนี้ มีสองส่วนด้วยกัน เรื่องหนึ่งเป็นความรู้หรือเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ ส่วนอีกเรื่องเป็นความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ได้จากภาคปฏิบัติ
หลายคนอาจเคยคิดว่า วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยากและเครียด จึงขังความรู้นั้นไว้ในตำราหรือห้องทดลองเท่านั้น
จึงเห็นได้ว่าวิทยาศาสตร์นั้นมีความสำคัญต่อชีวิตเป็นอย่างมาก เพียงแค่เราคิดนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ก็จะทำให้ชีวิตเรามีความก้าวหน้าอย่างสูงสุดตามไปด้วยเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น